มุมความรู้จากแหล่งเรียนรู้

การเลี้ยงปลาดุก (ข้อมูลจากกรมประมง ภาพถ่ายจากบ่อปลาดุกของโรงเรียนวัดศิวาราม)

ปัจจุบันนี้ พบว่า ปลาดุกมีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปและมีราคาสูง เนื่องจากความนิยมของประชาชน และค่านิยมในการเลี้ยงได้ลดน้อยลง แต่การเลี้ยงสามารถเลี้ยงได้ง่าย โตเร็ว และอดทนต่อสภาพแวดล้อมจึงทำให้มีผู้ที่สนใจในการเลี้ยงมากขึ้น
ในปัจจุบันการเลี้ยงปลาดุกในปัจจุบันปลาดุกที่นิยมเลี้ยงกันมากคือ ปลาดุกลูกผสมหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "บิ๊กอุย" ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างปลาดุกอุยกับปลาดุกรัสเซีย(ดุกยักษ์ หรือดุกเทศ) ซึ่งปลาดุกลูกผสมนี้จะเลี้ยงง่ายโตเร็ว และต้านทานโรคได้ดี

วิธีการเลี้ยงและการให้อาหาร บ่อเลี้ยงปลาดุกควรพิจารณาเป็นพิเศษ แตกต่างจากการเลี้ยงปลาชนิดอื่น ทั้งนี้ทั้งนั้น เนื่องจากปลาดุกมีนิสัยชอบหนีออกจากบ่อเลี้ยง โดยเฉพาะขณะที่ฝนตกน้ำไหลลงในบ่อ ปลาจะว่ายทวนน้ำออกไป การป้องกันโดยการล้อมขอบบ่อด้วยตาข่ายไนล่อนก่อน ซึ่งให้มีความสูงประมาณ 50 ซม. อัตราการปล่อยในเนื้อที่ 1 ตารางเมตร ควรปล่อยปลาประมาณ 60 ตัว สำหรับบ่อปลาที่มีการถ่ายเทน้ำได้สะดวก จะเพิ่มจำนวนปลาให้มากกว่านี้เล็กน้อยก็ได้ แต่ไม่ควรปล่อยปลาให้แน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ปลาโตช้าและทำอันตรายกันเอง

อาหาร ปลาดุกเป็นปลาที่มีนิสัยการกินอาหารได้ทั้งเนื้อและพืช ซึ่งพอจะแบ่งได้ดังนี้
1. อาหารจำพวกเนื้อ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมตามที่จะหาได้ หรือเครื่องในสัตว์ตลอดจนเลือดสัตว์ และพวกแมลง เช่น ปลวก หนอน ไส้เดือนฯลฯ
2. อาหารจำพวกพืชผัก ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว กากมัน แป้ง ข้าวโพด และผักต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มอาหาร อาจให้มูลสัตว์ เช่น มูลไก่ มูลหมู มูลสัตว์เหล่านี้จะเป็นอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ปลาดุกได้เป็นอย่างดี
โดยทั่วไปแล้วปลาดุกชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ มากกว่าอาหารประเภทพืช แต่การให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียว จะทำให้ปลาเจริญเติบโตไม่ได้สัดส่วน เช่น อาจทำให้ตัวอ้วนสั้น มีไขมันมากเกินไป ดังนั้น เพื่อให้ปลาโตได้สัดส่วนมีน้ำหนักดี ควรให้อาหารประเภทเนื้อในอัตรา 30-50 % ของอาหารประเภทพืช
บริเวณที่ให้อาหารในแต่ละครั้งควรให้อาหารในที่เดียวกัน และควรให้อาหารเป็นเวลา เพื่อฝึกให้ปลารู้เวลาและกินอาหารเป็นที่ ปริมาณการให้อาหารควรให้อาหาร 5 % ของน้ำหนักตัวต่อวัน ปัจจุบันการเลี้ยงปลาดุกจะใช้อาหารสำเร็จรูปและจะเสริมพวกอาหารสด เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าอาหาร และทำให้ปลาโตเร็ว แต่ข้อเสียของการให้อาหารสดคือ จะทำให้น้ำเสียได้ง่าย ดังนั้นควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ ประมาณเดือนละ 1-2 ครั้ง

วิธีการเตรียมบ่อ
1. บ่อใหม่ ปกติแล้วดินจะมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ หรืออาจมีสภาพเป็นกรดสูง ขึ้นอยู่กับลักษณะท้องที่ ฉนั้นควรใส่ปูนขาวในอัตรา 1 กก. ต่อพื้นที่ 10-25 ตารางเมตร โดยสาดปูนขาวให้ทั่วบ่อแล้วตากบ่อไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงสูบน้ำเข้าบ่อตามระดับที่ต้องการ แต่ควรมีระดับน้ำลึกประมาณ 50 ซม. แล้วจึงปล่อยปลาลงเลี้ยง
2. บ่อเก่า สำหรับบ่อเก่าควรสูบน้ำให้แห้งแล้วตากบ่อประมาณ 10-15 วัน พร้อมทั้งโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ ในอัตราส่วนปูนขาว 1 กก. ต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร เพื่อให้แสงแดดทำลายเชื้อโรคต่างๆ ที่มีอยู่เดิม เมื่อเลี้ยงปลาดุกได้ประมาณ 3-4 รุ่น ควรลอกเลนและทำคันบ่อใหม่ เนื่องจากบ่ออาจตื้นเขินและขอบดินอาจเป็นรูหรือโพรง ทำให้บ่อเก็บกักน้ำไม่อยู่
===============================================================
การเพาะเห็ดภูฐาน (ภาพถ่ายจากโรงเรือนเพาะเห็ดของโรงเรียนวัดศิวาราม)- ตั้งก้อนเห็ดในชั้นบ่มเห็ด – ประมาณ3-4สัปดาห์ เชื้อเห็ดจะเดินเต็มถุง – ชั้นวางบ่มก้อนเห็ดควรอยู่ในร่ม ไม่ให้ถูกแดดและฝน – อาจจะนำเข้าโรงเปิดดอกเลยก็ได้ถ้าไม่มีชั้นบ่มก้อนเห็ด ไม่ต้องรดน้ำ การเปิดดอกเห็ด – ตรวจดูเมื่อเชื้อเห็ดเต็มถุงให้นำเข้า โรงเปิดดอก – เอาสำลีออก ปิดกระดาษไว้เหมือนเดิม – สังเกตดูว่ากระดาษตุง แสดงว่าเห็ดเริ่มออกดอกให้ทำการรดน้ำ – เก็บเห็ดแล้วปิดกระดาษไว้2-3ครั้งเมื่อเชื้อเห็ดแข็งแรงแล้วจึงเปิด ถาวร การรดน้ำ – เมื่อเห็ดเริ่มออก รดน้ำให้ชุ่ม ตรวจดูอุณหภูมิให้พอเหมาะกับเห็ดแต่ละชนิด – รดน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง – รดน้ำให้ฝอย น้ำขนานกับปากถุง ระวังน้ำเข้าถุง – น้ำต้องสะอาด บริสุทธิ์


=================================================================

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น